วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 28  พฤศจิกายน 2556
กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 8.30-12.20 น.

*วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนในเรื่องของสาระเเละมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อดังนี้ได้เเก่  จำนวนเเละการดำเนินการ การวัด พีชคณิต เรขาคณิต เเละการวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าจะเป็น

กลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ
สาระสำคัญ
จำนวน  หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ  หรือสัญลักษณ์
การดำเนินการ  หมายถึง  การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ 
จำนวน และการดำเนินการ   หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน
คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี 

-มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณและเวลาสามารถเปรียบเทียบได้   
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง และแสดงของสิ่งต่างๆ   
-มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน   
-มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล
ดินสอ 4 เเท่ง
*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ เด็กเห็นภาพเเล้วสามารถนับเเละบอกจำนวนตัวเลขน้อยๆ ได้ เช่นดินสอ 4 เท่ง


กลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด (Measurement)

สาระสำคัญ



การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย

ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติม
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะ วัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น

ส่วนด้านการวัดนั้น สำนึก โรจนพนัส (2528 : 29) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวัดของเด็กอนุบาลว่า เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ กิจกรรมใดก็ตามที่จะให้เด็กชี้หรือบอกว่าสิ่งที่เขาสัมผัสอยู่นั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็ก ฯลฯ ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมทางการวัดทั้งสิ้น


การวัดความสูงของเด็ก 1คน กับตุ๊กตาหมี 3ตัวต่อกัน

*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ การวัดเเละเปรียบเทียบระหว่าสิ่งของสองสิ่ง ว่าอะไรยาวกว่า อะไรสั้นกว่า อะไรใหญ่กว่า อะไรเล็กกว่า เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
สาระสำคัญ
 เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ การดูรูปเเล้วจำเเนกสีที่เหมือนกันได้ 

กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
สาระสำคัญ
การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง 
-ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
-ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
-พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น      บล็อครูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติม
ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่อง รูปร่าง รูปทรงในหน่วยต่างๆ เด็กได้สังเกตวัสดุที่อยู่รอบตัว จากการดู สังเกตวัสดุแล้วใช้ภาษาที่มีคำศัพท์ เช่น รูปทรง.. เหมือนกับ.. รูปทรงของ.. เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ เด็กได้ใช้ความสามารถในการถามคำถามง่ายๆ ได้พูดหรือบรรยายรูปทรงของสิ่งนั้น เช่น บล็อกมีรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ต้นไม้มีทรงพุ่มสามเหลี่ยม ลำต้นของมะพร้าวเป็นทรงกระบอก และสิ่งต่างๆเกือบทุกชนิดมีรูปทรงสามมิติ มีเส้นรอบรูปและทรงทึบ ครูต้องจัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส ให้เด็กดู และมือลูบรอบๆรูปร่างของวัตถุสิ่งนั้น เพราะการสังเกตวัตถุนั้น นอกจากการเห็นด้วยตาแล้ว การแตะต้องหรือลูบวัตถุตามเส้นสายของรูปทรง ประสาทสัมผัสจะทำให้เด็กเข้าใจ เด็กควรมีโอกาสดูรูปทรงว่าเป็นวัตถุอะไร และดูว่ามีรูปทรงอะไรในวัตถุนั้น เช่น หน่วยเครื่องใช้ เรื่อง กระเป๋า เด็กได้ดูและสัมผัสรูปทรงเรขาคณิตได้แก่ รูปทรงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงกระบอก รูป ทรงสามเหลี่ยมฯลฯ จากกระเป๋าชนิดต่างๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือคุณแม่ กระเป๋านักเรียน เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งให้เด็กดูกระเป๋าชนิดต่างๆว่า แต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง กระเป๋าบางใบทั้งที่มีเพียงหนึ่งรูปทรงหรือผสมรูป ทรง เช่น กระเป๋าถือของคุณแม่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมแต่มีฝากระเป๋าสามเหลี่ยม กระเป๋านักเรียนมีรูปทรงกลม สายกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น อีกสาระหนึ่งที่ควรให้เด็กเรียนรู้คือ รูปร่างของวัตถุธรรมชาติ เช่น ขอบท้องฟ้า คลื่นในทะเล ต้นไม้ รูป ร่างของตัวเราเอง สัตว์ และพืช ด้วยการสังเกตว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างเช่นกัน แต่ไม่มีชื่อเรียกแน่นอน จึงใช้ชื่อจากรูปร่างที่คนเราสร้างขึ้น เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มีเทียบเคียงเรียก เช่น ใบหน้าของเธอรูปวงรี อีกคนคล้ายสามเหลี่ยม คนนั้นอ้วนกลม แต่อีกคนคอยาวทรงกระบอก

*ตัวอย่างที่เพื่อนนำมาให้ดู คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตให้เข้ากับกิจกรรมกลางเเจ้งในการให้เด็กจับกลุ่มรูปทรงเรขาคณิตที่เหมือนกัน

กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าเป็น
สาระสำคัญ
 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ และจำแนก หรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกออกเป็น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ได้เป็นต้น

*ตัวอย่างที่เพื่อนนำมาให้ดู คือ การให้เด็กนำชื่อของตัวเองมาใสในกราฟ โดยให้ใส่ให้ตรงกับพยัญเเรกของชื่อเด็กๆ เเละจะทราบจากลักษณะของกราฟเเท่ง

กิจกรรมหลังเรียน
 อาจารย์ให้ทุกคนร่วมกันสรุปข้อมูลเนื้อหาสาระของเเต่ละกลุ่มที่เพื่อนนำเสนอไป เเละลงคะเเนนให้เพื่อนเเต่ละกลุ่มในใบประเมินที่อาจารย์เเจกให้
1.ความรู้ที่ได้รับ
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในสาระต่างๆที่เพื่อนนำเสนอเเละยกตัวอย่างให้ดู เช่น การจัดการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตบางกิจกรรมอาจต้องใช้บริเวณเนื้อที่เยอะจึงควรจัดผ่านกิจกรรมกลางเเจ้งเพื่อใช้เนื้อที่ได้เยอะ โดยนำรูปภาพเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้นเเล้วให้เด็กๆจำเเนกรูปภาพเป็นเเบบเดียวกัน
2.การนำไปใช้ 
 เมื่อได้ฟังเนื้อหาสาระข้อมูลในเรื่องสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเเต่ละกลุ่มไปเเล้วก็สามารถนำมาเป็นเเนวทางในการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ในการเรียนเเละอนาคตการเป็นครูปฐมวัย
3.ประเมินผล
 ตนเอง/เตรียมตัวในการนำเสนองานหน้าชั้นมาเเค่ 1 วัน ยังรู้สึกตื่นเต้น
 เพื่อน/เพื่อนตั้งใจฟังดี มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็น เพื่้อนในกลุ่มที่นำเสนออาจารย์ติชมว่าเเก้ไขสถานการณ์ได้ดี เเถไปได้เรื่อย 555++
 อาจารย์/อาจารย์เตรียมการประเมินเเละเกณฑ์การให้คะเเนนดี ให้คำเเนะนำเเละติชม เพื่อให้ทุกกลุ่มไปปรับใช้ต่อไป











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น