บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2556
กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 8.30-12.20 น.
* วันนี้อาจารย์สรุปคะเเนนที่เเต่ละกลุ่มได้นำเสนอไปครั้งที่เเล้ว อาจารย์เเจกชีทให้อ่านเพิ่มเติม เเละสอนเนื้อหาผ่าน PowerPoint
สาระสำคัญ
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
-จำนวนนับ
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกเเละตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมเเละการเเยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินเเละเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ เเละวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญเเละธนบัตร
เข้าใจเกี่ยวกับเวลาเเละคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำเเหน่ง ทิศทาง ระยะเวลา
-รูปเรขาคณิตสามมิติเเละรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจเเบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอยางหนึ่ง
สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนเเละการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนเเละการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกเเละตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกเเสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมเเละการเเยกกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมกันไม่เกิน 10
-ความหมายของการเเยก
-การเเยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 การวัดมาตรฐาน
ค.ป. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เเละเวลา
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. รู้จักใช้คำในการบอกตำเเหน่ง ทิศทาง เเละระยะเวลา
รู้จัก จำเเนกรูปเรขาคณิตเเละเข้าใจการเปลี่ยนเเปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำเเหน่ง ทิศทาง เเละระยะทาง
-การบอกตำเเหน่ง ทิศทาง เเละระยะทางของสิ่งของต่างๆ
เเบบรูปเเละความสัมพันธ์
-เเบบรุปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองเเละสิ่งเเวดล้อม เเละนำเสนอ
การเก็บรวบรวมข้อมูลเเละนำเสนอ-การนำเสนอข้อมูลในรูปเเบบเเผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 ทักษะเเละกระบวนการทางคณิตศาสตร์ง
-การเเก้ไขปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เเละการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ เเละเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆเเละมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
กิจกรรมหลังเรียน
อาจารย์ให้ทุกคนตัดกระดาษสีคนละ 1-2 รูปโดยกำหนดให้เลือกเป็นรูปเรขาคณิต เเละประยุกต์เป็นรูปสัตว์
1.ความรู้ที่ได้รับ
สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้ รูปเเบบข้อมูลรายละเอียดสำคัญเกี่ยวเรื่องเรขาคณิต เเละการนำรูปทรงเรขาคณิตมาปรับใช้กับเด็กปฐมวัย
2.การนำไปใช้
ได้เข้าใจเนื้อหาสาระเเละนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเเละจากที่อาจารย์ได้อธิบายในคาบเรียนมาใช้ในการเรียนเเละการทำความเข้านำไปปรับใช้การเป็นครูได้อย่างเหมาะสม
3.ประเมินผล
ตนเอง/สร้างสรรค์ผลงานที่อาจารย์ให้อย่างสวยงามตามความเข้าใจเเละตั้งใจจดจำบันทึกรายละเอียดเนื้อหาสาระที่เรียน
เพื่อน/ เพื่อนๆส่วนใหญ่สร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาสวยงาม เพราะความตั้งใจ
อาจารย์/ อาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระเพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจได้ดี ค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2556
กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 8.30-12.20 น.
เนื่องจากวันนี้เป็นวันพ่อเเห่งชาติ เป็นวันหยุดจึงงดการเรียน เเละดิฉันก็ได้นำประวัติความเป็นมาของวันพ่อเเห่งชาติมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
ความเป็นมา
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาลย์ ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) มีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"
พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล"ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน
พระนามของพระองค์มีความหมายว่า
- ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
- อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"
การศึกษา
พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศสภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝรั่งเศส: École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน (ฝรั่งเศส: Chailly-sur-Lausanne)
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
พระราชกรณียกิจ พระรานิพนธ์ และผลงานอื่น
ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี
ในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่าง ๆ หลายแขนง จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติและบิดาแห่งการดนตรี พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีพระปรีชาสามารถปั้นพระพุทธรูปพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เองงานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น
ด้านการพัฒนาชนบท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่
ด้านการเกษตรและชลประทาน
ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทานนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่
ของประเทศเพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอก
เขตชลประทานซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลักทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น
ด้านการแพทย์
โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันทีนอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย
ใน พ.ศ. 2554 ทางองค์กรแพทย์ศัลยศาสตร์จากทั่วโลก ต่างพร้อมใจกันถวายใบประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ และเหรียญสดุดี จากคุณูปการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่พระองค์ทรงอุทิศเพื่อพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
บรรณานุกรม
วันพ่อแห่งชาติ - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร- วิกิพีเดียสารานุกเสรี
***อยากให้คนไทยทุกคนกลับมารักกัน สามัคคีกัน เพื่อพระองค์ท่าน
วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556
บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2556
กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 8.30-12.20 น.
*วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนในเรื่องของสาระเเละมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อดังนี้ได้เเก่ จำนวนเเละการดำเนินการ การวัด พีชคณิต เรขาคณิต เเละการวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าจะเป็น
กลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2556
กลุ่มเรียน 103 เวลาเรียน 8.30-12.20 น.
*วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนในเรื่องของสาระเเละมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อดังนี้ได้เเก่ จำนวนเเละการดำเนินการ การวัด พีชคณิต เรขาคณิต เเละการวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าจะเป็น
กลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ
สาระสำคัญ
จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์
การดำเนินการ หมายถึง การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
จำนวน และการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน
คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี
-มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณและเวลาสามารถเปรียบเทียบได้
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง และแสดงของสิ่งต่างๆ
-มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน
-มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล
ดินสอ 4 เเท่ง
*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ เด็กเห็นภาพเเล้วสามารถนับเเละบอกจำนวนตัวเลขน้อยๆ ได้ เช่นดินสอ 4 เท่ง
|
กลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด (Measurement)
สาระสำคัญ
การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย
ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติม
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก 2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด 3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะ วัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น
ส่วนด้านการวัดนั้น สำนึก โรจนพนัส (2528 : 29) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวัดของเด็กอนุบาลว่า เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ กิจกรรมใดก็ตามที่จะให้เด็กชี้หรือบอกว่าสิ่งที่เขาสัมผัสอยู่นั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็ก ฯลฯ ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมทางการวัดทั้งสิ้น
การวัดความสูงของเด็ก 1คน กับตุ๊กตาหมี 3ตัวต่อกัน
*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ การวัดเเละเปรียบเทียบระหว่าสิ่งของสองสิ่ง ว่าอะไรยาวกว่า อะไรสั้นกว่า อะไรใหญ่กว่า อะไรเล็กกว่า เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
สาระสำคัญ
เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
*ตัวอย่างที่เพื่อนได้นำมาให้ดู คือ การดูรูปเเล้วจำเเนกสีที่เหมือนกันได้
กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
สาระสำคัญ
การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง
-ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้
-ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว
-พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น บล็อครูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติม
ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่อง รูปร่าง รูปทรงในหน่วยต่างๆ เด็กได้สังเกตวัสดุที่อยู่รอบตัว จากการดู สังเกตวัสดุแล้วใช้ภาษาที่มีคำศัพท์ เช่น รูปทรง.. เหมือนกับ.. รูปทรงของ.. เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ เด็กได้ใช้ความสามารถในการถามคำถามง่ายๆ ได้พูดหรือบรรยายรูปทรงของสิ่งนั้น เช่น บล็อกมีรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ต้นไม้มีทรงพุ่มสามเหลี่ยม ลำต้นของมะพร้าวเป็นทรงกระบอก และสิ่งต่างๆเกือบทุกชนิดมีรูปทรงสามมิติ มีเส้นรอบรูปและทรงทึบ ครูต้องจัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส ให้เด็กดู และมือลูบรอบๆรูปร่างของวัตถุสิ่งนั้น เพราะการสังเกตวัตถุนั้น นอกจากการเห็นด้วยตาแล้ว การแตะต้องหรือลูบวัตถุตามเส้นสายของรูปทรง ประสาทสัมผัสจะทำให้เด็กเข้าใจ เด็กควรมีโอกาสดูรูปทรงว่าเป็นวัตถุอะไร และดูว่ามีรูปทรงอะไรในวัตถุนั้น เช่น หน่วยเครื่องใช้ เรื่อง กระเป๋า เด็กได้ดูและสัมผัสรูปทรงเรขาคณิตได้แก่ รูปทรงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงกระบอก รูป ทรงสามเหลี่ยมฯลฯ จากกระเป๋าชนิดต่างๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือคุณแม่ กระเป๋านักเรียน เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งให้เด็กดูกระเป๋าชนิดต่างๆว่า แต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง กระเป๋าบางใบทั้งที่มีเพียงหนึ่งรูปทรงหรือผสมรูป ทรง เช่น กระเป๋าถือของคุณแม่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมแต่มีฝากระเป๋าสามเหลี่ยม กระเป๋านักเรียนมีรูปทรงกลม สายกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น อีกสาระหนึ่งที่ควรให้เด็กเรียนรู้คือ รูปร่างของวัตถุธรรมชาติ เช่น ขอบท้องฟ้า คลื่นในทะเล ต้นไม้ รูป ร่างของตัวเราเอง สัตว์ และพืช ด้วยการสังเกตว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างเช่นกัน แต่ไม่มีชื่อเรียกแน่นอน จึงใช้ชื่อจากรูปร่างที่คนเราสร้างขึ้น เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มีเทียบเคียงเรียก เช่น ใบหน้าของเธอรูปวงรี อีกคนคล้ายสามเหลี่ยม คนนั้นอ้วนกลม แต่อีกคนคอยาวทรงกระบอก
*ตัวอย่างที่เพื่อนนำมาให้ดู คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตให้เข้ากับกิจกรรมกลางเเจ้งในการให้เด็กจับกลุ่มรูปทรงเรขาคณิตที่เหมือนกัน
กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเเละความน่าเป็น
สาระสำคัญ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ และจำแนก หรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกออกเป็น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ได้เป็นต้น
*ตัวอย่างที่เพื่อนนำมาให้ดู คือ การให้เด็กนำชื่อของตัวเองมาใสในกราฟ โดยให้ใส่ให้ตรงกับพยัญเเรกของชื่อเด็กๆ เเละจะทราบจากลักษณะของกราฟเเท่ง
กิจกรรมหลังเรียน
อาจารย์ให้ทุกคนร่วมกันสรุปข้อมูลเนื้อหาสาระของเเต่ละกลุ่มที่เพื่อนนำเสนอไป เเละลงคะเเนนให้เพื่อนเเต่ละกลุ่มในใบประเมินที่อาจารย์เเจกให้
1.ความรู้ที่ได้รับ
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในสาระต่างๆที่เพื่อนนำเสนอเเละยกตัวอย่างให้ดู เช่น การจัดการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตบางกิจกรรมอาจต้องใช้บริเวณเนื้อที่เยอะจึงควรจัดผ่านกิจกรรมกลางเเจ้งเพื่อใช้เนื้อที่ได้เยอะ โดยนำรูปภาพเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้นเเล้วให้เด็กๆจำเเนกรูปภาพเป็นเเบบเดียวกัน
2.การนำไปใช้
เมื่อได้ฟังเนื้อหาสาระข้อมูลในเรื่องสาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเเต่ละกลุ่มไปเเล้วก็สามารถนำมาเป็นเเนวทางในการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ในการเรียนเเละอนาคตการเป็นครูปฐมวัย
3.ประเมินผล
ตนเอง/เตรียมตัวในการนำเสนองานหน้าชั้นมาเเค่ 1 วัน ยังรู้สึกตื่นเต้น
เพื่อน/เพื่อนตั้งใจฟังดี มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็น เพื่้อนในกลุ่มที่นำเสนออาจารย์ติชมว่าเเก้ไขสถานการณ์ได้ดี เเถไปได้เรื่อย 555++
อาจารย์/อาจารย์เตรียมการประเมินเเละเกณฑ์การให้คะเเนนดี ให้คำเเนะนำเเละติชม เพื่อให้ทุกกลุ่มไปปรับใช้ต่อไป
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)